เรื่องอื้อฉาวรอบตัวมักดา ลูเปสคู ของ คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย

จากซ้าย: มกุฎราชกุมารคาโรล, กษัตริย์เฟอร์ดินานด์และสมเด็จพระราชินีมารี ใน ค.ศ. 1922

ชีวิตเสกสมรสของทั้งสองพระองค์ล้มเหลวลงเมื่อมกุฎราชกุมารคาโรลทรงเริ่มมีความสัมพันธ์กับเอเลนา "มักดา" ลูเปสคู (1895-1977) เป็นสตรีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและเป็นบุตรสาวของเภสัชกรชาวยิวกับภริยาผู้นับถือโรมันคาทอลิก มักดา ลูเปสคูเคยเป็นอดีตภรรยาของนายทหารชื่อ เอียน ตัมปีอานู พรรคเสรีนิยมแห่งชาติซึ่งเป็นพรรคที่ครอบงำการเมืองโรมาเนียนั้นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ของมกุฎราชกุมารคาโรลและลูเปสคู ซึ่งสมาชิกพรรคมีการถกเถียงกันว่าพระองค์ไม่ทรงมีคุณสมบัติที่จะเป็นกษัตริย์ หนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทนำในพรรคเสรีนิยมแห่งชาติ คือ เจ้าชายบาร์บู สเตอบีย์ ผู้ซึ่งเป็นคนรักของสมเด็จพระราชินีมารี พระราชชนนีของพระองค์ และมกุฎราชกุมารคาโรลทรงเกลียดชังสเตอบีย์อย่างจริงจัง เนื่องจากทำพระราชชนกของพระองค์ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติจากความสัมพันธ์ที่ไม่เปิดเผยกับสมเด็จพระราชินี และด้วยเหตุนี้จึงทรงเกลียดชังคนจากพรรคเสรีนิยมแห่งชาติไปด้วย[10] เมื่อพรรคเสรีนิยมแห่งชาติทราบว่าองค์มกุฎราชกุมารทรงตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกเขา ทางพรรคจึงดำเนินการหาทางกีดกันพระองค์ออกจากราชบัลลังก์[11] การรณรงค์ที่ยืดเยื้อของพรรคเสรีนิยมแห่งชาตินั้นมีความเกี่ยวข้องน้อยมากในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมกุฎราชกุมารคาโรลและมักดา ลูเปสคู แต่จุดมุ่งหมายหลักของพรรคคือ ความพยายามกำจัด "ปืนใหญ่ที่หย่อนยาน" อย่างตัว มกุฎราชกุมารคาโรล เนื่องจากแน่ใจว่าถ้าพระองค์ได้ครองราชบัลลังก์ พระองค์จะต้องกีดกันไม่ให้พรรคเสรีนิยมแห่งชาติมีอำนาจเหนือการเมือง ดังที่พระมหากษัตริย์โฮเอ็นโซลเลิร์นเคยทำมาก่อน[11]

ผลลัพธ์ของเรื่องอื้อฉาวนี้ มกุฎราชกุมารคาโรลจะต้องทรงสละสิทธิในราชบัลลังก์ในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1925 ให้แก่พระราชโอรสที่ประสูติแต่มกุฎราชกุมารีเฮเลน คือ เจ้าชายมีไฮ (ไมเคิล) กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 เสด็จสวรรคตในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1927 หลังจากทรงประชวรอย่างทุกข์ทรมานด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เจ้าชายไมเคิลทรงสืบราชบัลลังก์ต่อโดยอัตโนมัติหลังจากการสวรรคตของกษัตริย์เฟอร์ดินานด์ สภาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ถูกจัดตั้งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าชายนิโคลัส พระอนุชาของเจ้าชายคาโรล, อัครบิดรแห่งโรมาเนีย มิรอน คริสเตอาและจีออร์เก บุซดูกาน ประธานศาลยุติธรรมสูงสุด เนื่องจากกษัตริย์มีไฮยังทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงเฮเลนทรงหย่าขาดจากเจ้าชายคาโรลเมื่อ ค.ศ. 1928 หลังจากทรงสละสิทธิในราชบัลลังก์ เจ้าชายคาโรลเสด็จไปประทับที่ปารีสซึ่งพระองค์ทรงประทับอยู่อย่างปกติกับมาดามลูเปสคู[12] พรรคเสรีนิยมแห่งชาตินั้นส่วนใหญ่ได้รับพลังขับเคลื่อนจากตระกูลบราเตียนูที่ทรงพลังในการใช้อำนาจในพรรค หลังจากนายกรัฐมนตรีจากพรรคเสรีนิยมแห่งชาติคือ อียอน อี. เช. บราเตียนู ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ ค.ศ. 1927 ตระกูลบราเตียนูไม่สามารถตกลงกันเรื่องผู้สืบทอดได้ อันนำมาซึ่งอำนาจของพรรคเสรีนิยมที่เริ่มเข้าสู่จุดเสื่อม[13] ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปใน ค.ศ. 1928 พรรคเกษตรกรแห่งชาติ ภายใต้อียูลิว มานิว ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 78%[13] เจ้าชายนิโคลัส ซึ่งเป็นประธานสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั้นทรงเป็นมิตรไมตรีกับพรรคเสรีนิยมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างมานิวจึงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะยุบสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทูลเชิญเจ้าชายคาโรลให้เสด็จกลับมา[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย http://www.sudd.ch/event.php?lang=en&id=ro011938 http://www.historytoday.com/richard-cavendish/deat... http://www.itv.com/presscentre/ep10week14/mr-selfr... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.cs.kent.edu/~amarcus/Mihai/english/caro... http://www.law.nyu.edu/eecr/vol7num2/feature/ruler... http://pages.prodigy.net/ptheroff/gotha/greece.htm... http://pages.prodigy.net/ptheroff/gotha/romania.ht... http://www.tkinter.smig.net/Romania/References/Car... http://ziua.net/display.php?data=2007-11-29&id=230...